การจัดการสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์พลังงาน

ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กรีดร้อนของ แอล พี เอ็น เพลทมิล เรามีความตั้งใจที่จะ พัฒนาธุรกิจ ให้เติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้น การป้องกันและควบคุม มลภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้ส่งผลกระทบ น้อยที่สุดต่อสังคม ชุมชน และ สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงปลุกจิตสำนึกแก่บุคลากรใน องค์กรให้เรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่า และร่วมกันประหยัดพลังงานนับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างโรงงาน จนถึงดำเนินการผลิต

ในปัจจุบัน แอล พี เอ็น ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด โดยได้จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และนำข้อตกลง ที่ระบุไว้ ในรายงาน EIA มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในการเฝ้าระวังและตรวจวัดคุณภาพ สิ่งแวดล้อมทางน้ำ อากาศอย่างสม่ำเสมอ และรายงานผลการตรวจวัด ต่อสำนักงานนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุก 6 เดือน เพื่อ ป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นบริษัทฯ ได้ให้ ความสำคัญกับการจัดการกากอุตสาหกรรมที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ให้ได้รับการ กำจัด บำบัด อย่างถูกวิธี และส่งเสริมให้มีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การดำเนิน งานจัดการสิ่งแวดล้อม ได้นำมาตรฐาน ISO 14001 มาเป็นแนวทางในการกำหนด มาตรฐานจัดการผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมในแต่ละกระบวนการ กิจกรรม ซึ่งครอบคลุม ถึงกิจกรรมอันเกิดจากผู้เข้ามา ปฏิบัติงานให้กับบริษัทฯ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และบริษัทฯ ได้รับการรับรองระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ในปี 2547 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน

มาตรการควบคุมและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัทฯ ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมจากภายนอก เพื่อดำเนินการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อม ดังนี้

  • การตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ระบายออกจากปล่อง
  • การตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
  • การตรวจวัดคุณภาพอากาศในสถานประกอบการ
  • การตรวจวัดระดับความดังเสียง
  • การตรวจวัดความเข้มแสงสว่าง
  • การตรวจวัดค่าความร้อนในพื้นที่การทำงาน

การจัดการกากอุตสาหกรรม

กากอุตสาหกรรมที่เกิดจากกระบวนการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนส่วนใหญ่จะสามารถนำกลับไปใช้ ประโยชน์ได้อีก เช่น สเกลเหล็ก และเศษเหล็กจากการตัด จะถูกส่งไปจำหน่ายให้กับกลุ่ม อุตสาหกรรมเหล็กอื่นๆ เพื่อนำเข้ากระบวนแปรรูปหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนกากอุตสาหกรรมที่ เป็นอันตรายเช่น ตะกอนการเจียร ตะกอนน้ำมัน จาระบี น้ำมันใช้แล้ววัสดุปนเปื้อนสารเคมี อันตราย ฯลฯ จะถูกส่งไป จำหน่าย/นำกลับ มาใช้ใหม่/กำจัดยังโรงงานประเภท 101 และ 105 โดยจะได้รับอนุญาตจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม

การควบคุมมลภาวะน้ำเสีย

น้ำเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตทั้งหมดจะถูกส่งไปปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยกระบวนการ ทางเคมีและหมุนเวียนกลับมาใช้ซ้ำโดยไม่ระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกน้ำเสียจากอาคาร สำนักงานและโรงอาหารจะถูกส่งไปบำบัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป ก่อนนำกลับมาใช้ ประโยชน์ในการรดถนน และต้นไม้ภายในบริษัทฯ

การควบคุมมลพิษทางอากาศ

การควบคุมมลภาวะทางอากาศที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนในกระบวนการผลิตได้กำหนดเป็นมาตรการ ตรวจสอบและควบคุมระบบการเผาไหม้ของเตาอบ (Reheat Furnace) ให้เกิดการเผาไหม้ ที่สมบูรณ์ รวมทั้งการเลือกใช้น้ำมันเตาที่มีส่วนประกอบของ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์น้อยกว่า ร้อยละ 2 เป็นเชื้อเพลิงและติดตามตรวจวัดคุณภาพ อากาศจากปล่องทุกๆ 6 เดือน

การใช้ทรัพยากรและการอนุรักษ์พลังงาน

ปี 2548 บริษัทฯ จัดตั้งแผนกอนุรักษ์พลังงานขึ้นเพื่อสนองนโยบายของประเทศในการ ลดการ ใช้ทรัพยากรและร่วมกันประหยัดพลังงานทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการดำเนินงานตาม นโยบายด้านพลังงานของฝ่ายบริหารรวมถึงข้อบังคับด้าน พลังงานทางราชการและเป็นที่ปรึกษา ด้านพลังงานการหาพลังงานทดแทนการจัดซื้อเครื่องจักรและเทคนิคการอนุรักษ์พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ และดำเนิน การจัดกิจกรรมด้านประชาสัมพันธ์ เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ พลังงานให้เกิดขึ้น ภายในองค์กรและได้แต่งตั้ง คณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานขึ้นประกอบด้วย ตัวแทน ฝ่ายต่างๆทำหน้าที่ดูแลควบคุมและประเมินผลดำเนินการหาแนวทางวิธีดำเนินการ ประหยัดพลังงานในทุกขอบเขตที่มีอยู่และพัฒนางานด้านอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง แนวทาง การอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรในบริษัทฯ ได้แก่

  • การประหยัดน้ำ
  • การประหยัดไฟฟ้า
  • การประหยัดกระดาษ
  • การลดการใช้น้ำมันเตา, น้ำมันดีเซ, น้ำมันหล่อลื่น และจาระบี, ก๊าซแอลพีจี

Leave a Reply